วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

อาหารและการให้หารสัตว์

   อาหารที่ใช้เป็นหลักในการให้อาหารสัตว์โดยทั่วไป  จำแนกออกตามชนิด  ลักษณะและคุณสมบัติหรือ
คุณภาพของวัตถุดิบ  ( Raw  meterial  )  ที่นำมาประกอบเป็นอาหารใช้เลี้ยงสัตว์ได้  2  ชนิดคือ
       1.1  อาหารหยาบ ( Roughage )  ได้แก่อาหารที่มีคุณภาพค่อนข้างต่ำ  ย่อยยาก  มีพวกเยื่อใย  ( fiber )  มาก  มี
ความหยาบเหนียวหรือกระด้าง โภชนาสาร ( Nutriant )  ที่ได้รับจากอาหารชนิดนี้ส่วนมากจะเป็นพวกคาร์โบ-
ไฮเดรท   (  แป้ง  น้ำตาล )  อาหารหยาบนี้จะใช้เป็นหลักในการให้อาหารสัตว์กระเพาะรวม  ตัวอย่าง  อาหารพวก
นี้  เช่น  หย้าสด  ( soiling  )  หญ้าแห้งหรือฟางข้าว ( hays ) หญ้าหมัก  ( Silages )  พืชตระกูลถั่ว  ( เถาและใบ )
ใบไม้และชิ้นส่วนของพืชอื่นๆ  ฯลฯ  อาหารชนิดนี้ได้มาจาก  3  แหล่งคือ
              ก.  จากทุ่งหญ้าธรรมชาติ  (  Natural  pasture )  ได้แก่  พื้นที่ที่มีหญ้าหรือวัชพืชขึ้นอย่างหนาแน่นโดย
ธรรมชาติ  เช่น  ตามป่าละเมาะ  ตามหัวไร่ปลายนา  บริเวณที่ว่างเว้นจากการเพาะปลูกพืชหลัก  หรือตามที่รกร้าง
ว่างเปล่า  เป็นต้น  แหล่งอาหารนี้จะมีพืชนานาชนิดขึ้นปะปนกันทำให้มีคุณภาพต่ำ  ทุ่งหญ้าธรรมชาติขอเราใน
ปัจจุบันนี้มีแนวโน้มที่จะลดเนื้อที่ลงเรื่อย ๆ  เพราะมีความจำเป็นที่จะขยายเนื้อที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจขึ้นเรื่อย ๆ
นั่นเอง  อย่างไรก็ตามเรายังใช้แหล่งอาหารนี้เป็นหลักในการเลี้ยงสัตว์กระเพาะรวม  และจะยังคงใช้ต่อไปอีกนาน
              ข.  จากทุ่งหญ้าที่ปลูกสร้างขึ้น ( Man  made  pasture )  เป็นทุ่งหญ้าที่เจ้าของฟาร์มสัตว์ปลูกสร้างขึ้น
ตามหลักวิชาการ  ทำให้ได้อาหารที่มีคุณภาพสูงและตรงตามความต้องการของสัตว์  สำหรับบ้านเรา  ทุ่งหญ้า
ประเภทนี้ยังมีน้อยและมักจะเป็นของฟาร์มปศุสัตว์ที่เป็นของทางราชการหรือของเอกชนที่มีฐานะของฟาร์ม
มั่นคง  ทั้งนี้เนื่องจากเกษตรกรส่วนมากมีฐานะยากจนและมีที่ดินจำกัดเพียงผืนเล็ก ๆ  เท่านั้นยากที่จะสร้างทุ่ง
หญ้านี้ขึ้นมาได้
              ค.  จากผลพลอยได้ในไร่นา  อาหารจากแหล่งนี้นับว่าเป็นประโยชน์ต่อสัตว์น้อยมาก  เนื่องจากมีคุณภาพ
ต่ำและมีจำนวนจำกัดเพียงบางฤดูกาลเท่านั้น  เช่น  ภายหลังการเก็บเกี่ยวใหม่ ๆ
        1.2  อาหารเข้มข้น  ( Concentrate )  ได้แก่  อาหารที่มีคุณภาพค่อนข้างสูง  มีความละเอียดอ่อนย่อยได้ง่ายใน
ร่างกายสัตว์  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่  อาหารชนิดนี้จะใช้เป็นหลักในการเลี้ยงสัตว์กระเพาะเดี่ยว
ตัวอย่างอาหารเข้มข้น  เช่น  รำละเอียด  ปลายข้าว  เมล็ดธัญพืช  ( grains )  ต่าง ๆ  ( ข้าวเหนียว   ข้าวจ้าว  ข้าว
สาลี  ข้าวบาเลย์  ข้าวโพด  ข้าวฟ่างฯ  )  เมล็ดของพืชตระกูลถั่ว  ( ถั่วเหลือง  ถั่วเขียว  ถั่วแดง  ถั่วลาย  ถั่วลิสง )
เมล็ดของพืชน้ำมัน ( งา  ละหุ่ง  ฝ้าย  ทานตะวัน  )  พืชหัว  ( มันสำปะหลัง  มันเทศ )  เนื้อสัตว์  และผลผลิตจาก
สัตว์  (  เนื้อเยื่อเอ็น  พังผืด  เลือดป่น  กระดูกป่น  น้ำนม  หางนมผง  เปลือกไข่ป่น  เปลือกหอยป่น  )  แร่ธาตุหรือ
สารประกอบต่าง ๆ  ( เกลือแกง  หินปูนป่น  ธาตุเหล็ก  ไอโอดีน  )  เป็นต้น  อาหารชนิดนี้ได้มาจากแหล่งใหญ่ๆ
3  แหล่ง  คือ 
              ก.  จากเมล็ดพืชและส่วนอื่น ๆ  ของพืช 
              ข.  สัตว์และผลพอยได้จากสัตว์  เช่น  เนื้อสัตว์  น้ำนม  หางนมผง  เลือดแห้งป่น  กระดูกป่น  เปลือกหอย
ป่น  หรือแม้แต่มูลสัตว์  แหล่งนี้ใช้มากเป็นอันดับสองรองจากแปล่งที่ไนึ่งเพราะมีราคาแพง  และหาได้ยากกว่า
แม้ว่าจะมีคุณภาพสูงกว่าก็ตาม
              ค.  จากแหล่งของแร่ธาตุโดยตรง  เช่น  เกลือแกง  เกลือสินเธาว์  หินปูนป่นและแร่ธาตุบริสุทธิ์อื่น ๆ  เช่น
ธาตุเหล็ก  ไอโอดีน  แคลเซี่ยม  ฟอสฟอรัส  เป็นต้น

การใช้โปรแกรม microsoft excel


โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Excel
โปรแกรม Microsoft Excel เป็นโปรแกรมที่เหมาะกับงานทางด้าน การคำนวณ การตีตาราง การหาค่าสูตรต่าง ๆ ตลอดจนสามารถนำข้อมูล ไปสร้างเป็นกราฟ เพื่อแสดงแผนภูมิต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งถ้าเรามีการเปลี่ยนแปลงตัวเลขใด ๆ โปรแกรมก็จะทำการคำนวณ สูตรที่เชื่อมโยงกับตัวเลขนั้น ๆ ให้โดยอัตโนมัติ
การเข้าสู่โปรแกรม Microsoft Excel
1. คลิ๊กที่ปุ่ม Start
2. เลื่อนขึ้นไปที่หัวข้อ Program
3. เลื่อนมาด้านขวา คลิ๊กที่โปรแกรม Microsoft Excel
ส่วนประกอบต่าง ๆ ของหน้าจอโปรแกรม Microsoft Excel
1. เมื่อเปิดโปรแกรมมาแล้ว จะเห็นว่าหน้าจอจะตีตารางเป็นช่อง ๆ เราเรียกว่า กระดาษทำการ Work Sheet
2. ด้านบนที่เห็นเป็นตัวอักษร A , B , C , D , E , …….. เป็นการแบ่งแนวตั้งเราเรียกว่า คอลัมน์ Column
3. ด้านซ้ายที่เห็นเป็นตัวเลข 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 , ………… เป็นการแบ่งแนวนอนเราเรียกว่า แถว Row
4. จุดตัดระหว่าง คอลัมน์ กับ แถว เราเรียกว่า เซลล์ Cell
5. ที่ Cell A1 จะมีกรอบสีดำเข้ม สามารถเลื่อนไปยัง Cell ต่าง ๆ ได้ เราเรียกว่า ตัวชี้ตำแหน่งเซลล์ ปัจจุบันที่ใช้งานอยู่ Cell Pointer
การเลื่อน Cell Pointer
1. ใช้เม้าส์คลิ๊กที่ เซลล์ ที่เราต้องการเลื่อน
2. ใช้ลูกศร สี่ทิศ ที่แป้นพิมพ์ในการเลื่อน
3. ใช้ปุ่ม Ctrl + Home เพื่อเลื่อนกลับมาที่ เซลล์ A1
4. ใช้ปุ่ม Ctrl + ลูกศร ขวา เพื่อเลื่อนมา คอลัมน์ ขวาสุด
5. ใช้ปุ่ม Ctrl + ลูกศร ลง เพื่อเลื่อนลงมาบรรทัดสุดท้าย
6. ใช้ปุ่ม Page Up หรือ Page Down เพื่อ เลื่อน ขึ้น หรือ ลง ทีละ 1 หน้าจอภาพ
การพิมพ์ข้อมูลลงใน Cell
1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ ที่ต้องการจะป้อนข้อมูล
2. พิมพ์ข้อมูลที่ต้องการ
3. กดปุ่ม Enter หรือ ใช้ลูกศร ที่แป้นพิมพ์เพื่อ เลื่อนไปทางขวา หรือ ขึ้น ลง ได้
การลบข้อมูลในเซลล์
1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ ที่ต้องการจะลบ
2. กดปุ่ม Delete ที่แป้นพิมพ์
การแก้ไขข้อมูล
1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ ที่ต้องการจะแก้ไขข้อมูล
2. กดปุ่ม F2 ที่แป้นพิมพ์
3. ทำการแก้ไขข้อมูล (สามารถใช้ลูกศร ซ้าย – ขวา ที่แป้นพิมพ์ในการเลื่อนเคอร์เซอร์ได้)
4. เสร็จการแก้ไขข้อมูล โดยการกดปุ่ม Enter
การย้ายข้อมูล (Move)
1. เลื่อนเซลล์ไปยังเซลล์ที่จะย้ายข้อมูล
2. นำเม้าส์มาแตะที่ขอบของ Cell Pointer เม้าส์จะเปลี่ยนจากรูป บวก ที่เป็นกาชาด มาเป็นลูกศร
3. กดปุ่มซ้ายของเม้าส์ ค้างไว้ เลื่อน เซลล์ได้เลย
การคัดลอกข้อมูล (Copy)
1. เลื่อนเซลล์ไปยังเซลล์ที่จะคัดลอกข้อมูล
2. นำเม้าส์มาแตะที่จุดสี่เหลี่ยมสีดำตรงมุมขวาล่างของ Cell Pointer เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมายบวก
สีดำ
3. กดปุ่มซ้ายของเม้าส์ค้างไว้ แล้วเลื่อนไปยังเซลล์ที่จะคัดลอกไปได้เลย
การปรับความกว้างของคอลัมน์
1. เลื่อนเม้าส์ไปชี้ที่เส้นแบ่งระหว่างคอลัมน์ (เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปลูกศรสีดำ ซ้าย – ขวา)
2. กดเม้าส์ค้างไว้ แล้วลากเม้าส์เพื่อปรับความกว้าง หรือจะดับเบิ้ลคลิ๊ก เพื่อให้เครื่อง
ปรับความกว้างอัตโนมัติ
การเขียนสูตรเพื่อทำการคำนวณในเอ็กเซล
1. คลิ๊กที่เซลล์ที่ต้องการจะคำนวณ
2. กดเครื่องหมาย เท่ากับ = เพื่อให้เอ็กเซลทราบว่า ช่องนี้ต้องการทำการคำนวณ
3. พิมพ์สูตรที่ต้องการคำนวณลงไป เช่น พิมพ์ว่า =D3*3% (D3 คือ เซลล์ที่เก็บตัวเลขที่เราจะดึงมาทำการคำนวณ)
4. เมื่อพิมพ์สูตรเสร็จแล้ว ให้กดปุ่ม Enter เครื่องจะทำการคำนวณคำตอบให้
การคัดลอกสูตร (Copy สูตร)
1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ที่จะคัดลอกสูตร
2. เลื่อนเม้าส์มาชี้ที่จุดสี่เหลี่ยมสีดำ ด้านล่างขวาของกรอบสีดำ เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมาย บวก สีดำ
3. กดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ ค้างไว้ แล้วเลื่อนเม้าส์ลงมาเรื่อยจนครบทุกช่องที่จะก๊อปปี้
4. เมื่อปล่อยเม้าส์ เครื่องก็จะทำการคำนวณทุกช่องให้เอง
ถ้าทำการก๊อปปี้แล้วตัวเลขเกิดรางรถไฟขึ้นมา ############## ความหมายคือความกว้างไม่พอ
1. เลื่อนเม้าส์ไปที่เส้นแบ่งระหว่างคอลัมน์ ที่เราจะปรับด้านบน (เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูป ลูกศรสีดำ
ซ้าย – ขวา)
2. ดับเบิ้ลคลิ๊ก เพื่อปรับความกว้างอัตโนมัติ
การคำนวณหายอดรวม
1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ที่ต้องการจะหายอดรวม
2. ด้านบน คลิ๊กที่ปุ่ม ซิกม่า (เป็นรูปตัว S )
3. จากนั้นที่เซลล์ จะมีคำสั่งให้ว่า =SUM(ตามด้วยกลุ่มเซลล์)
4. กดปุ่ม Enter เครื่องจะคำนวณหาคำตอบให้
การผสานเซลล์ให้เป็นช่องเดียวกัน จะใช้ในกรณีที่ต้องการให้ข้อความจัดกลางระหว่างคอลัมน์ หลาย ๆ คอลัมน์ เช่น ต้องการให้ชื่อบริษัท ในบรรทัดแรกอยู่ตรงกลางระหว่าง คอลัมน์ A ถึงคอลัมน์ F
วิธีการคือ
1. นำเม้าส์ไปวางที่เซลล์ A1 จากนั้นกดเม้าส์ค้างไว้ ลากมาทางขวาจนถึงคอลัมน์ F1
2. ด้านบน คลิ๊กที่ปุ่ม a เล็ก (ถ้าเลื่อนเม้าส์ไปวางไว้ จะมีคำว่า ผสานและจัดกึ่งกลาง)
3. เครื่องจะทำการผสานเซลล์ แล้วนำข้อความมาจัดกลางให้
การให้เครื่องใส่หมายเลขลำดับที่ต่อเนื่องกันไป เช่น ต้องการให้ลำดับที่เป็น 1 , 2 , 3 , 4 , ไปเรื่อย ๆ
1. คลิ๊กที่เซลล์ที่ต้องการจะเริ่มเลข 1
2. ใส่เครื่องหมายฟันเดียว ‘ ตรงแป้นพิมพ์อักษร ง ไม่ต้องยกแคร่ พิมพ์เลข 1 แล้วกด Enter
3. เลข 1 จะชิดด้านซ้าย เลื่อนเซลล์กลับมาที่เลข 1 ทำการก๊อปปี้ (เลื่อนเม้าส์ ชี้ ตรงจุดสี่เหลี่ยมสีดำตรงมุมล่างขวา เม้าส์จะเปลี่ยนรูปเป็นเครื่องหมาย บวก สีดำ กดเม้าส์ค้างไว้ แล้วลากเม้าส์ลงมาตามต้องการ พอปล่อยเม้าส์ เครื่องจะใส่ตัวเลขเรียงลำดับให้เอง)
การตีตาราง
1. ลากเม้าส์คลุมเซลล์ที่เราต้องการจะตีตาราง
2. ด้านบนที่แถบเครื่องมือบรรทัดที่สอง (แถบจัดรูปแบบ) นับจากด้านหลังปุ่มที่ 3 จะเป็นปุ่มเส้นขอบ ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมเล็ก ๆ หลังปุ่มเส้นขอบ
3. เครื่องจะมีเส้นขอบให้เลือก ให้เลือกปุ่มที่อยู่ในบรรทัดที่ 3 ปุ่มที่ 2 เครื่องจะมีคำว่า เส้นขอบทั้งหมด
4. เครื่องจะตีตารางให้ คลิ๊กเม้าส์ที่เซลล์ไหนก็ได้ เพื่อยกเลิกแถบที่เราลากไว้
การ Save ข้อมูล จะแบ่งเป็น 2 กรณี
ถ้าเป็นการ Save ครั้งแรก หมายถึง เพิ่งพิมพ์งานใหม่
1. คลิ๊ก เมนู แฟ้ม
2. ลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง บันทึกเป็น (Save As)
3. จะขึ้นหน้าต่าง Save As จากนั้นในช่องชื่อแฟ้ม เครื่องจะนำเอาบรรทัดแรกที่เราพิมพ์ มาเป็นชื่อแฟ้ม แต่ถ้าเราไม่เอาชื่อแฟ้มนั้นก็ ลบทิ้ง พิมพ์ชื่อแฟ้มที่ต้องการลงไปแล้ว คลิ๊กปุ่ม บันทึก
ถ้าเป็นการ Save งานเดิม หมายถึง เรียกขึ้นมาเพื่อแก้ไข แล้วจะ Save ที่เราแก้ไข
1. คลิ๊ก เมนู แฟ้ม
2. ลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง บันทึก (Save)
3. ตรงนี้เครื่องจะไม่ขึ้นหน้าต่าง ใด ๆ เลย เครื่องจะทำการ Save ลงที่แฟ้มเดิมที่เราเรียกใช้อยู่ เพราะเครื่องทราบว่าจะ Save ที่แฟ้มใดอยู่แล้ว
การยกเลิกเส้นตารางบางส่วนที่เราตีไปแล้ว
1. นำเม้าส์มา ลาก ส่วนที่เราจะยกเลิกเส้นตาราง
2. นำเม้าส์มาวางอยู่ในแถบที่เราลาก
3. คลิ๊กปุ่มขวาของเม้าส์เพื่อเข้าวิธีลัด
4. เครื่องจะปรากฏคำสั่งต่าง ๆ ให้เราลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง จัดรูปแบบเซลล์
5. เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง จัดรูปแบบเซลล์ ด้านบน ให้คลิ๊กที่หัวข้อ เส้นขอบ
6. ในช่อง เส้น , ลักษณะ ด้านขวา ให้คลิ๊กที่คำว่า ไม่มี
7. ด้านซ้ายในช่อง เส้นขอบ ให้คลิ๊กเส้นที่เราต้องการจะเอาออก
8. ด้านล่างคลิ๊กที่ปุ่ม ตกลง
การเปลี่ยนตัวอักษร ขนาด ลักษณะตัวอักษร สี
1. นำเม้าส์มาลากยังเซลล์ที่ต้องการจะเปลี่ยน
2. ด้านบนที่แถบเครื่องมือบรรทัดที่ 2 (แถบจัดรูปแบบ)
3. ช่องที่ 1 ที่มีคำว่า Cordia New ช่องนี้คือแบบอักษร ถ้าเราจะเปลี่ยนแบบอักษร ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมสีดำหลังคำว่า Cordia New จากนั้นเลือกตัวอักษรที่เราต้องการ โดยต้องเลือกตัวอักษรที่มีคำว่า New หรือ UPC อยู่หลังแบบอักษร เพราะแบบอักษรนี้จะใช้ได้กับภาษาไทย
4. ช่องที่ 2 ที่มีตัวเลขเป็น 14 ช่องนี้คือ ขนาดของตัวอักษร ถ้าเราจะเปลี่ยนก็ให้คลิ๊กที่ปุ่ม สามเหลี่ยมสีดำ หลังเลข 14 แล้วเลือกขนาดได้ตามใจชอบ
5. ช่องที่ 3 จะเป็นตัวอักษร B ถ้าเราคลิ๊กลงไปจะได้ตัวอักษร หนาขึ้น ถ้าไม่เอา ให้คลิ๊กซ้ำลงไป
6. ช่องที่ 4 จะเป็นตัวอักษร I จะเป็นการทำตัวเอียง
7. ช่องที่ 5 จะเป็นตัวอักษร U จะเป็นการทำตัวขีดเส้นใต้
8. ช่องสุดท้าย จะเป็นตัวอักษร A จะเป็นการเลือกสีตัวอักษร ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมสีดำหลังตัว A จะมีสีต่าง ๆ ให้เลือก ถ้าเราไม่เอาสีนั้นแล้วให้คลิ๊กที่คำว่า อัตโนมัติ
9. ช่องที่อยู่หน้าปุ่ม A ที่เป็นรูปกระป๋องสี คือการใส่สีพื้น ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมสีดำหลังกระป๋องสี จะมีสีพื้นต่าง ๆ ให้เลือก แต่ถ้าเราเลือกไปแล้วจะไม่เอาสีพื้น ให้คลิ๊กที่คำว่า ไม่เติม
10. เมื่อเปลี่ยนเรียบร้อยแล้ว ให้นำเม้าส์คลิ๊กที่เซลล์ไหนก็ได้เพื่อยกเลิกแถบ
การคำนวณหาค่าต่าง ๆ
1. คลิ๊กที่เซลล์ที่เราจะเก็บคำตอบ
2. ด้านบนคลิ๊กที่ปุ่ม วางฟังก์ชั่น (อยู่ข้าง ๆ ปุ่มซิกม่าที่เป็นรูป fx)
3. เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง วางฟังก์ชั่น
4. เลือกคำสั่งที่เราจะทำการคำนวณ
5. ด้านล่างคลิ๊กปุ่ม ตกลง
6. เครื่องจะขึ้นหน้าต่างเพื่อให้เราใส่กลุ่มเซลล์ที่เราต้องการจะทำการคำนวณ เช่น ถ้าเราต้องการหาค่าตั้งแต่ เซลล์ D3 ถึง เซลล์ D7 เราต้องพิมพ์ว่า D3:D7 ใช้เครื่องหมายคอลอนคั่น : จากนั้นด้านล่างคลิ๊กปุ่ม ตกลง เครื่องก็จะทำการคำนวณในเซลล์นั้นให้
คำสั่งที่ใช้ในการหาค่าต่าง ๆ
ต้องการหาค่าเฉลี่ย ใช้คำสั่ง AVERAGE
ต้องการหาค่าสูงสุด ใช้คำสั่ง MAX
ต้องการหาค่าต่ำสุด ใช้คำสั่ง MIN
ต้องการให้เครื่องตรวจสอบข้อมูล จริง กับ เท็จ ใช้คำสั่ง IF
ต้องการให้เครื่องเปลี่ยนเลขเป็นตัวอักษร ใช้คำสั่ง BAHTTEXT
การสร้างกราฟ (Graph) คือ การนำตัวเลข มาสร้างเป็นกราฟเพื่อสรุปเป็นแผนภูมิ
1. นำเม้าส์มาลากข้อมูลในแกน X เช่น ลากตั้งแต่เซลล์ B3 ถึง B7
2. นำเม้าส์มาลากข้อมูลในแกน Y เช่น ลากตั้งแต่เซลล์ D3 ถึง D7 ต้องกดปุ่ม Ctrl + ลากเม้าส์
3. ด้านบนที่แถบเครื่องมือที่ 1 ให้คลิ๊กปุ่ม ตัวช่วยสร้างแผนภูมิ (ที่เป็นรูปกราฟแท่ง)
4. เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง ตัวช่วยสร้างแผนภูมิ ขั้น ที่ 1 จาก 4 – ชนิดแผนภูมิ
5. เครื่องจะถามทั้งหมด 4 ขั้นตอน ในขั้นตอนที่ 1 นี้เป็นการให้เราเลือกชนิดของกราฟที่เราต้องการสร้าง โดยด้านซ้าย คือ ชนิดของกราฟ มีทั้งกราฟ คอลัมน์ , กราฟแท่ง , กราฟเส้น , กราฟวงกลม เราก็คลิ๊ก ชนิดของกราฟที่เราต้องการลงไป ส่วนด้านขวาเป็นการเลือกแบบของกราฟ ว่าเราอยากได้กราฟแบบไหน เราก็คลิ๊กลงไป จากนั้น ด้านล่าง คลิ๊กที่ปุ่ม ถัดไป เพื่อไปสู่ขั้นตอนที่ 2
6. ในขั้นตอนที่ 2 เครื่องจะสร้างกราฟชนิดที่เราต้องการไว้ ตามที่เราลากข้อมูลแกน X และ Y ซึ่งในหน้าต่างขั้นที่ 2 นี้เราไม่ต้องทำอะไรเลย ให้ลงไปคลิ๊กที่ปุ่ม ถัดไป ด้านล่างได้เลย
7. ในหน้าต่างขั้นตอนที่ 3 นี้ จะเป็นการใส่สิ่งที่เครื่องไม่ได้ทำมาให้คือ
a. ด้านบนยังไม่มีคำอธิบายกราฟ วิธีใส่ก็คือ ด้านซ้ายให้คลิ๊กที่ช่อง ชื่อแผนภูมิ จะมีเคอร์เซอร์ เราก็พิมพ์ลงไป เช่น กราฟแสดงเงินเดือน (เมื่อพิมพ์เสร็จนั่งสักพัก เครื่องจะไปใส่ในกราฟด้านขวาให้เราเอง โดยไม่ต้องกดปุ่ม Enter)
b. ในกราฟแต่ละแท่งเครื่องยังไม่ได้บอกค่าว่าแต่ละแท่งมีค่าเท่าไหร่ วิธีการให้เครื่องแสดงค่าออกมาคือ ด้านบน ให้คลิ๊กที่หัวข้อ ป้ายชื่อข้อมูล และด้านซ้าย คลิ๊กที่ช่อง แสดงค่า
เสร็จแล้วด้านล่าง ให้คลิ๊กที่ปุ่ม ถัดไป เพื่อไปยังขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนสุดท้าย
8. ในขั้นตอนที่ 4 ให้คลิ๊กที่คำว่า เป็นแผ่นงานใหม่ แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม เสร็จสิ้น เครื่องก็จะสร้างกราฟเสร็จเรียบร้อยตามที่เราต้องการ
การตกแต่งกราฟ
1. ถ้าต้องการเปลี่ยนสีของแท่งกราฟ
a. คลิ๊กที่แท่งแรกของกราฟ (จะขึ้นจุดสี่เหลี่ยมสีดำ แต่จะขึ้นทุกแท่ง) ให้คลิ๊กที่แท่งแรกของกราฟอีกครั้งนึง (จะขึ้นจุดสี่เหลี่ยมสีดำ ที่แท่งแรกเท่านั้น)
b. ให้นำเม้าส์วางที่แท่งแรกเหมือนเดิม แล้ว ดับเบิ้ลคลิ๊ก
c. จะขึ้นหน้าต่าง จัดรูปแบบจุดข้อมูล
d. คลิ๊กที่ช่องตารางสีที่เราต้องการจะเปลี่ยน
e. ด้านล่างคลิ๊กที่ปุ่ม ตกลง
f. จากนั้น ก็เลื่อนเม้าส์ไปวางแท่งที่ 2 แล้วดับเบิ้ลคลิ๊กได้เลย เปลี่ยนสีจนครบ
2. ถ้าต้องการเปลี่ยนสีที่ด้านหลังของแท่ง
a. เลื่อนเม้าส์ไปวางที่ด้านหลังของแท่ง (จะมีคำขึ้นมาว่า ผนัง)
b. ดับเบิ้ลคลิ๊กสองที
c. จะขึ้นหน้าต่าง จัดรูปแบบจุดข้อมูล ตรงนี้ถ้าเราอยากได้ สีผสมของเครื่องให้คลิ๊กที่ปุ่ม เติมลักษณะพิเศษ จะขึ้นหน้าต่าง การเติมลักษณะพิเศษ ขึ้นมาอีกหน้าต่าง จากนั้น ให้คลิ๊กที่คำว่า สีที่กำหนดไว้ ด้านขวาจะมีช่อง สีที่กำหนดไว้ เพิ่มขึ้นมา ในแถบจะมีคำว่า ก่อนอาทิตย์ตก แล้วด้านล่างจะมีสีตัวอย่างว่า ก่อนอาทิตย์ตก มีแบบไหนบ้าง ถ้ายังไม่ถูกใจ ให้คลิ๊กที่ปุ่ม สามเหลี่ยมด้านหลัง จะมีชื่อสีสำเร็จรูปต่าง ๆ เราก็คลิ๊กไป แล้วด้านล่าง จะแสดงสีของชื่อนั้น ถ้าเราถูกใจ ด้านขวาให้คลิ๊กที่ปุ่ม ตกลง เครื่องจะกลับมาที่หน้าต่าง แรก ให้เราคลิ๊กปุ่ม ตกลงด้านล่างอีกทีเครื่องก็จะใส่สีของผนังที่เราเลือกไว้
d. ถ้าเราต้องการจะเปลี่ยนสีของฐานของแท่ง ก็ทำเหมือนกัน คือ ให้เม้าส์ชี้ที่ด้านล่างระหว่างแท่ง เครื่องจะขึ้นคำว่า พื้น จากนั้นก็ดับเบิ้ลคลิ๊กทำตามขั้นตอนด้านบนอีกที
3. ถ้าต้องการเปลี่ยนสีด้านนอกของกราฟ
a. ให้เลื่อนเม้าส์ไปวางตรงมุมบนขวาภายนอกของกราฟ จะขึ้นคำว่า พื้นที่แผนภูมิ
b. ดับเบิ้ลคลิ๊กสองที จะขึ้นหน้าต่าง จัดรูปแบบพื้นที่แผนภูมิ
c. ลงมาคลิ๊กที่ปุ่ม เติมลักษณะพิเศษ จะขึ้นหน้าต่างซ้อนขึ้นมา ชื่อว่า เติมลักษณะพิเศษ
d. ด้านบน คลิ๊กที่หัวข้อ พื้นผิว เครื่องจะขึ้นพื้นผิวต่าง ๆ ให้เราเลือก เมื่อเลือกเสร็จแล้ว ให้คลิ๊กที่ปุ่ม ตกลงด้านขวามือ เครื่องจะกลับมาที่หน้าต่างแรก ด้านล่างให้คลิ๊กที่ปุ่ม ตกลงอีกที

จริยธรรมและความปลอดภัย

วัตถุประสงค
1. เพื่อให้ทราบเกี่ยวกับจริยธรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์

สรุปเนื้อหารายวิชา

ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

       การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: Computer programming) หรือเรียกให้สั้นลงว่า การเขียนโปรแกรม (อังกฤษ: Programming) หรือ การเขียนโค้ด (Coding) เป็นขั้นตอนการเขียน ทดสอบ และดูแลซอร์สโค้ดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งซอร์สโค้ดนั้นจะเขียนด้วยภาษาโปรแกรม ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมต้องการความรู้ในหลายด้านด้วยกัน เกี่ยวกับโปรแกรมที่ต้องการจะเขียน และอัลกอริทึมที่จะใช้ ซึ่งในวิศวกรรมซอฟต์แวร์นั้น การเขียนโปรแกรมถือเป็นเพียงขั้นหนึ่งในวงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟแวร์
การเขียนโปรแกรมจะได้มาซึ่งซอร์สโค้ดของโปรแกรมนั้นๆ โดยปกติแล้วจะอยู่ในรูปแบบของ plain text ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้งานได้ จะต้องผ่านการคอมไพล์ตัวซอร์สโค้ดนั้นให้เป็นภาษาเครื่อง (Machine Language) เสียก่อนจึงจะได้เป็นโปรแกรมที่พร้อมใช้งาน
การเขียนโปรแกรมถือว่าเป็นการผสมผสานกันระหว่างศาสตร์ของ ศิลปะ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ วิศวกรรม เข้าด้วยกัน

ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม
ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมหรือพัฒนาโปรแกรม มีขั้นตอนโดยสังเขปดังนี้
  • วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ (Problem Analysis and Requirement Analysis)
  • กำหนดและคุณสมบัติของโปรแกรม (Specification)
  • การออกแบบ (Design)
  • การโค้ด (Coding)
  • การคอมไพล์ (Compilation)
  • การทดสอบ (Testing)
  • การจัดทำเอกสาร (Documentation)
  • การเชื่อมต่อ (Integration)
  • การบำรุงรักษา (Maintenance)

[แก้] ภาษาโปรแกรม

ภาษาโปรแกรมแต่ละภาษาจะมีลักษณะหรือรูปแบบการเขียนที่แตกต่างกัน การเลือกภาษาโปรแกรมหรือภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาเขียนโปรแกรมนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่นนโยบายของบริษัท, ความเหมาะสมของโปรแกรมกับลักษณะงานที่จะถูกนำไปใช้, การเข้ากันได้กับโปรแกรมอื่น ๆ, หรืออาจเป็นความถนัดของแต่ละคน ภาษาโปรแกรมที่มีแนวโน้มในการนำมาเขียนมักเป็นภาษาที่มีคนที่สามารถเขียนได้ทันที หรือหากมีความจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้ภาษาอื่น เช่นต้องการเน้นประสิทธิภาพในการทำงานของโปรแกรม ก็อาจจำเป็นต้องหานักเขียนโปรแกรมขึ้นมาจำนวนหนึ่งซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในภาษาโปรแกรมที่ต้องการ และต้องมีคอมไพเลอร์ที่รองรับภาษาเหล่านั้นด้วย

[แก้] ลิขสิทธิ์ทางปัญญา

การเขียนโปรแกรม หรือการพัฒนาซอฟต์แวร์ ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของผู้พัฒนาหรือผู้เขียนโปรแกรมหรือบริษัทซอฟต์แวร์ ที่เป็นเจ้าของซอร์สโค้ดของโปรแกรมนั้นๆ โปรดดูรายละเอียดในเรื่อง ลิขสิทธิ์

 สาขาวิชาที่มีการเรียนการสอนการเขียนโปรแกรม

การพัฒนาโปรแกรม



2.2 ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม

ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมประกอบด้วย
  1. การวิเคราะห์ปัญหา
  2. การออกแบบโปรแกรม
  3. การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
  4. การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
  5. การทำเอกสารประกอบโปรแกรม
  6. การบำรุงรักษาโปรแกรม

การวิเคราะห์ปัญหา

การวิเคราะห์ปัญหา ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
  1. กำหนดวัตถุประสงค์ของงาน เพื่อพิจารณาว่าโปรแกรมต้องทำการประมวลผลอะไรบ้าง
  2. พิจารณาข้อมูลนำเข้า เพื่อให้ทราบว่าจะต้องนำข้อมูลอะไรเข้าคอมพิวเตอร์ ข้อมูลมีคุณสมบัติเป็นอย่างไร ตลอดจนถึงลักษณะและรูปแบบของข้อมูลที่จะนำเข้า
  3. พิจารณาการประมวลผล เพื่อให้ทราบว่าโปรแกรมมีขั้นตอนการประมวลผลอย่างไรและมีเงื่อนไปการประมวลผลอะไรบ้าง
  4. พิจารณาข้อสนเทศนำออก เพื่อให้ทราบว่ามีข้อสนเทศอะไรที่จะแสดง ตลอดจนรูปแบบและสื่อที่จะใช้ในการแสดงผล

การออกแบบโปรแกรม

การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเป็นขั้นตอนที่ใช้เป็นแนวทางในการลงรหัสโปรแกรม ผู้ออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมอาจใช้เครื่องมือต่างๆ ช่วยในการออกแบบ อาทิเช่น คำสั่งลำลอง (Pseudocode) หรือ ผังงาน (Flow chart) การออกแบบโปรแกรมนั้นไม่ต้องพะวงกับรูปแบบคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ แต่ให้มุ่งความสนใจไปที่ลำดับขั้นตอนในการประมวลผลของโปรแกรมเท่านั้น

การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์

การเขียนโปรแกรมเป็นการนำเอาผลลัพธ์ของการออกแบบโปรแกรม มาเปลี่ยนเป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องให้ความสนใจต่อรูปแบบคำสั่งและกฎเกณฑ์ของภาษาที่ใช้เพื่อให้การประมวลผลเป็นไปตามผลลัพธ์ที่ได้ออกแบบไว้ นอกจากนั้นผู้เขียนโปรแกรมควรแทรกคำอธิบายการทำงานต่างๆ ลงในโปรแกรมเพื่อให้โปรแกรมนั้นมีความกระจ่างชัดและง่ายต่อการตรวจสอบและโปรแกรมนี้ยังใช้เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบ

การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม

การทดสอบโปรแกรมเป็นการนำโปรแกรมที่ลงรหัสแล้วเข้าคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจสอบรูปแบบกฎเกณฑ์ของภาษา และผลการทำงานของโปรแกรมนั้น ถ้าพบว่ายังไม่ถูกก็แก้ไขให้ถูกต้องต่อไป ขั้นตอนการทดสอบและแก้ไขโปรแกรม อาจแบ่งได้เป็น 3 ขั้น
  1. สร้างแฟ้มเก็บโปรแกรมซึ่งส่วนใหญ่นิยมนำโปรแกรมเข้าผ่านทางแป้นพิมพ์โดยใช้โปรแกรมประมวลคำ
  2. ใช้ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์แปลโปรแกรมที่สร้างขึ้นเป็นภาษาเครื่อง โดยระหว่างการแปลจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบและกฎเกณฑ์ในการใช้ภาษา ถ้าคำสั่งใดมีรูปแบบไม่ถูกต้องก็จะแสดงข้อผิดพลาดออกมาเพื่อให้ผู้เขียนนำไปแก้ไขต่อไป ถ้าไม่มีข้อผิดพลาด เราจะได้โปรแกรมภาษาเครื่องที่สามารถให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้
  3. ตรวจสอบความถูกต้องของการประมวลผลของโปรแกรม โปรแกรมที่ถูกต้องตามรูปแบบและกฎเกณฑ์ของภาษา แต่อาจให้ผลลัพธ์ของการประมวลผลไม่ถูกต้องก็ได้ ดังนั้นผู้เขียนโปรแกรมจำเป็นต้องตรวจสอบว่าโปรแกรมประมวลผลถูกต้องตามต้องการหรือไม่ วิธีการหนึ่งก็คือ สมมติข้อมูลตัวแทนจากข้อมูลจริงนำไปให้โปรแกรมประมวลผลแล้วตรวจสอบผลลัพธ์ว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าพบว่าไม่ถูกต้องก็ต้องดำเนินการแก้ไขโปรแกรมต่อไป การสมมติข้อมูลตัวแทนเพื่อการทดสอบเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ลักษณะของข้อมูลตัวแทนที่ดีควรจะสมมติทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิดพลาด เพื่อทดสอบว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสามารถครอบคลุมการปฏิบัติงานในเงื่อนไขต่างๆ ได้ครบถ้วน นอกจากนี้อาจตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมด้วยการสมมติตัวเองเป็นคอมพิวเตอร์ทีจะประมวลผล แล้วทำตามคำสั่งทีละคำสั่งของโปรแกรมนั้นๆ วิธีการนี้อาจทำได้ยากถ้าโปรแกรมมีขนาดใหญ่ หรือมีการประมวลผลที่ซับซ้อน

การทำเอกสารประกอบโปรแกรม

การทำเอกสารประกอบโปรแกรมเป็นงานที่สำคัญของการพัฒนาโปรแกรม เอกสารประกอบโปรแกรมช่วยให้ผู้ใช้โปรแกรมเข้าใจวัตถุประสงค์ ข้อมูลที่จะต้องใช้กับโปรแกรม ตลอดจนผลลัพธ์ที่จะได้จากโปรแกรม การทำโปรแกรมทุกโปรแกรมจึงควรต้องทำเอกสารกำกับ เพื่อใช้สำหรับการอ้างอิงเมื่อจะใช้งานโปรแกรมและเมื่อต้องการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรม เอกสารประกอบโปรแกรมที่จัดทำ ควรประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
  1. วัตถุประสงค์
  2. ประเภทและชนิดของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ใช้ในโปรแกรม
  3. วิธีการใช้โปรแกรม
  4. แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบโปรแกรม
  5. รายละเอียดโปรแกรม
  6. ข้อมูลตัวแทนที่ใช้ทดสอบ
  7. ผลลัพธ์ของการทดสอบ

การบำรุงรักษาโปรแกรม

เมี่อโปรแกรมผ่านการตรวจสอบตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว และถูกนำมาให้ผู้ใช้ได้ใช้งาน ในช่วงแรกผู้ใช้อาจจะยังไม่คุ้นเคยก็อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาบ้าง ดังนั้นจึงต้องมีผู้คอยควบคุมดูแลและคอยตรวจสอบการทำงาน การบำรุงรักษาโปรแกรมจึงเป็นขั้นตอนที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องคอยเฝ้าดูและหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมในระหว่างที่ผู้ใช้ใช้งานโปรแกรม และปรับปรุงโปรแกรมเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น หรือในการใช้งานโปรแกรมไปนานๆ ผู้ใช้อาจต้องการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบงานเดิมเพื่อให้เหมาะกับเหตุการณ์ นักเขียนโปรแกรมก็จะต้องคอยปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมตามความต้องการของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง

การพัฒนาระบบสารสนเทศ

การพัฒนาระบบสารสนเทศ
ความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศ 
1.  การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน  ระบบเดิมไม่สามารถให้ข้อมูลหรือทำงานได้ตามต้องการ มีการดำเนินงานหลายขึ้นตอน ยุ่งยากในการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำข้อมูลสรุปสำหรับการติดตามการปฏิบัติงานโดยรวมขององค์การ จึงจำเป็นต้องพัฒนาหรือปรับปรุงระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยให้ขั้นตอนการปฏิบัติงานภายในและกระบวนการบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.  การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี  เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในระบบสารสนเทศปัจจุบันล้าสมัย ค่าช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบมีราคาสูง จึงต้องรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานที่มีอยู่เดิม
3.  การปรับองค์การและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน 
-  ระบบที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ขนาดเอกสารอ้างอิงหรือเอกสารที่มีอยู่ไม่ได้มารตรฐาน ทำให้การปรับปรุงหรือแก้ไขทำได้ยาก
-  ความต้องการปรับองค์การให้เหมาะสมเพื่อสามารตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
-  ระบบปัจจุบันไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้
การพัฒนาระบบประกอบด้วย
            1)  กระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และขั้นตอนการดำเนินธุรกิจขององค์การ
            -  การปรับปรุงคุณภาพ
            -  การติดตามความล้มเหลวจากการดำเนินงาน
            -  การปรับค่าตอบแทนของพนักงานโดยใช้การปรับปรุงคุณภาพเป็นดัชนี
            -  การค้นหาและแก้ไขสาเหตุที่แท้จริงของความล้มเหลว           
2)  บุคลากร (People) 
3)  วิธีการและเทคนิค (Methodology and Technique) การเลือกใช้วิธีการและเทคนิคที่เหมาะสมกับลักษณะของระบบเป็นสิ่งสำคัญ
4)  เทคโนโลยี (Technology) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความเหมาะสมกับลักษณะขอบเขตของระบบสารสนเทศแล ะงบประมาณที่กำหนด  
5)  งบประมาณ (Budget)  
6)  ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์การ (Infrastructure)
7)  การบริหารโครงการ (Project Management) 
                    
ทีมงานพัฒนาระบบ
การพัฒนา IT เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบกระบวนการพัฒนาระบบหลายกลุ่ม โดยทั่วไปจะมีการทำงานเป็นทีมที่ต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ และทักษะจากกลุ่มบุคคล
1)  คณะกรรมการ (Steering Committee)
2)  ผู้บริหารโครงการ (Project Manager)
3)  ผู้บริหารหน่วยงานด้านสารสนเทศ (MIS Manager)
4)  นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) ควรมีทักษะในด้านต่างๆ คือ
                        -  ทักษะด้านเทคนิค
                        -  ทักษะด้านการวิเคราะห์ 
                        -  ทักษะดานการบริหารจัดการ 
                        -  ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร
5)  ผู้ชำนาญการทางด้านเทคนิค 
                        -  ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA)
                        -  โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
6)  ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป (User and Manager) 

ระบบเลขฐานและตรรกศาสตร์

ระบบเลขฐาน
เลขฐาน หมายถึงกลุ่มข้อมูลที่มีจำนวนหลัก (Digit) ตามชื่อของฐาน
นั้นๆเช่น เลขฐานสอง ฐานแปด และฐานสิบ ประกอบด้วยข้อมูลตัวเลขจำนวนสองหลัก (0-1) แปดหลัก (0-7) และสิบหลัก (0-9) ตามลำดับ ดังรูปในตารางที่ 1
ในระบบคอมพิวเตอร์มีการใช้ระบบเลขฐาน 4 แบบ ประกอบด้วย
1).เลขฐานสอง (Binary Number)
2).เลขฐานแปด (Octal Number)
3).เลขฐานสิบ (Decimal Number)
4).เลขฐานสิบหก (Hexadecimal Number)

ตารางที่ 1 แสดงจำนวนตัวเลข ของเลขฐานต่างๆ



1).เลขฐานสอง

คือตัวเลขที่มีค่าไม่ซ้ำกันสองหลัก ( 0 และ 1) เป็นเลขฐานเดียวที่เข้ากันได้กับ Hardware ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง เพราะการใช้เลขฐานอื่น จะสร้างความยุ่งยากให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างมาก เช่น เลขฐานสิบมีตัวเลขที่เป็นสถานะที่ต่างกันถึง 10 ตัว ในขณะที่ระบบไฟฟ้ามีเพียง 2 สถานะ ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งๆมีเพียงสถานะเดียวเท่านั้น แต่ละหลักของเลขฐานสอง เรียกว่า Binary Digit (BIT)

2).เลขฐานแปด

เลขฐานแปด มีความสัมพันธ์กับเลขฐานสอง คือ เลขฐานสองจำนวน 3 หลัก แทนด้วยเลข
ฐานแปด 1 หลัก ดังนั้นเราจึงสามารถเขียนเลขฐานสอง 6 บิท แทนด้วยเลขฐานแปด 2 บิท การใช้เลขฐานแปดแทนเลขฐานสองทำให้จำนวนบิทสั้นลง

3).เลขฐานสิบ

คือตัวเลขที่มีค่าไม่ซ้ำกันสิบหลัก (0,1,2,…,9) เป็นเลขฐานที่มนุษย์คุ้นเคยและใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด ตัวเลขที่มีจำนวนมากกว่า 9 ให้ใช้ 10 ซึ่งเป็นการกลับไปใช้เลข 1 และ 0 อีก เพียงแต่ค่าของ 1 เปลี่ยนไปเป็น 10 เท่าของตัวมันเอง เช่น 333 (สามร้อยสามสิบสาม) แม้จะใช้ตัวเลข 3 ทั้งหมด แต่ตำแหน่งของตัวเลขย่อมมีความหมายตามตำแหน่งของแต่ละหลักนั้น กล่าวคือ หลักหน่วยน้อยกว่าหลักสิบ 10 เท่า หลักสิบน้อยกว่าหลักร้อย 10 เท่า ตามลำดับ

4).เลขฐานสิบหก

เลขฐานสิบหก มีความสัมพันธ์กับเลขฐานสอง คือ เลขฐานสองจำนวน 4 หลัก แทนด้วย
เลขฐานสิบหก 1 หลัก ดังนั้นเราจึงสามารถเขียนเลขฐานสอง 8 บิทแทนด้วยเลขฐานสิบหก 2 บิท การใช้เลขฐานสิบหกแทนเลขฐานสองทำให้จำนวนบิทสั้นลง
การเปลี่ยนฐานเลข (Base Number Conversion)

เนื่องจากตัวเลขในแต่ละฐานมี ค่าคงที่เฉพาะ ในแต่ละหลักของตัวเอง เช่นตัวเลข 100 มีค่าเท่ากับหนึ่งร้อยในระบบเลขฐานสิบ แต่ตัวเลข 100 ในระบบ
เลขฐานสอง (อ่านว่า หนึ่ง-ศูนย์-หนึ่ง) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 4 เป็นต้น ดังนั้น จึงไม่สามารถนำค่าของเลขฐานใดๆ ไปคำนวณเปรียบเทียบ กับเลขฐานอื่นได้โดยตรง
เมื่อต้องการคำนวณหรือเปรียบเทียบตัวเลข (ประมวลผล) จำเป็นต้องเปลี่ยนฐานเลขเหล่านั้นให้เป็นฐานเดียวกันก่อน การเปลี่ยนฐานเลขสามารถกระทำได้
หลายวิธี ในหน่วยเรียนนี้จะใช้วิธีที่สะดวกที่สุดวิธีหนึ่ง ดังนี้
ก่อนเปลี่ยนฐานเลขใดๆ จำเป็นต้องทราบค่าคง ที่เฉพาะในแต่ละหลักของเลขฐานสองดังนี้


ตาราง แสดงค่าคงที่เฉพาะในแต่ละหลักของเลขฐานสอง

จากตาราง พบว่าค่าคงที่เฉพาะ จะมีค่าเป็น 2 เท่า จากขวาไปซ้าย
การเปลี่ยนเลขฐานสอง เป็นเลขฐานสิบ
ให้นำค่าคงที่เฉพาะที่ตรงกับเลข 1 ของฐานสองมารวมกัน เช่นจำนวน (11010)2ประกอบด้วยเลข “1” จำนวน 3 ตัว
เมื่อนำค่าคงที่เฉพาะที่ตรงกับเลข 1 มารวมกัน ทำให้ได้จำนวนในฐานสิบเป็น 16+8+2 = 26 ดังนี้



นอกจากนี้การเปลี่ยนเลขฐานสองให้เป็นเลขฐานสิบยังสามารถทำได้โดย นำตัวเลขในแต่ละตำแหน่งคูณด้วยค่าประจำตำแหน่งแล้วนำมารวมกัน

ค่าประจำตำแหน่งของเลขฐานสองเริ่มตั้งแต่ 20,21,22,…
ตัวอย่างเช่น
(1011)2 = (1x23)+(0x22)+(1x21)+(1x20)
= (1x8)+(0x4)+(1x2)+(1x1)
= 8+0+2+1
= 11

การเปลี่ยนเลขฐานสิบ เป็นเลขฐานสอง

ให้พิจารณานำค่าคงที่เฉพาะหลักใดๆมารวมกัน เพื่อให้ได้ค่าเท่ากับเลขฐานสิบที่กำหนด จากนั้นเติมเลข “1“ ณ ตำแหน่งที่นำตัวเลขมารวมนั้น เช่น (26)10จะต้องใช้ค่าคงที่เฉพาะรวมกัน 3 หลัก (16+8+2) ดังนั้นจึงเติม “1” ณ ตำแหน่ง

16,8 และ 2 ตามลำดับ ส่วนตำแหน่งที่เหลือให้เติม “0”



นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนค่าจากเลขฐานสิบให้เป็นฐานสอง โดยการหารเลขฐานสิบด้วยสองไปเรื่อยๆจะได้เศษจากการหาร คือ เลขฐานสอง ที่ต้องการ ตำแหน่งของเศษที่เกิดจากการหารก็คือกำลังของเลขฐานสอง นั่นคือเศษที่ได้จากการหารครั้งแรกจะคูณด้วย 20 เศษที่ได้จากการหารด้วย 2 ครั้งที่ 2 จะคูณด้วย 2 1เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น

การเปลี่ยนระหว่างเลขฐานอื่น (ระหว่างฐานสอง ฐานแปด ฐานสิบ และฐานสิบหก)

ในที่นี้จะได้อธิบายถึงการเปลี่ยนฐานเลข ระหว่างเลขฐานสอง ฐานแปด ฐานสิบ และฐานสิบหก ซึ่งใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไป โดยมีหลักการเบื้องต้น 3 ประการ ดังนี้

(a) เปลี่ยนเลขฐานจากโจทย์ ไปสู่เลขฐานสองก่อน (ใช้เลขฐานสองเป็นตัวเชื่อมไปสู่เลข ฐานอื่น)

(b) เลขฐานแปด 1 หลัก ประกอบด้วยเลขฐานสอง 3 หลัก คือ (111) 2
(เนื่องจากเลขฐานแปด ต้องมีค่าไม่เกิน 7)

(c) เลขฐานสิบหก 1 หลัก ประกอบด้วยเลขฐานสอง 4 หลัก คือ (1111) 2

1 1 1 1

(เนื่องจากเลขฐานสิบหก ต้องมีค่าไม่เกิน 15)


ตัวอย่างที่ 7 (75) 8 = (?)10
ตัวอย่างที่ 7 (75) 8 = (?)10

-- ใช้หลักการ (a) เปลี่ยนเลขฐานแปด เป็นเลขฐานสอง ดังนี้

-- แยก (75) 8 ออกเป็น 2 กลุ่มๆละ 3 หลัก ตามหลักการข้อ (b) โดยแยก 7 และ 5 ออกจากกัน ดังนี้
-- เปลี่ยนเลขฐานสองที่ได้ เป็นเลขฐานสิบดังนี้ (111101)2 = (?)10
ตัวอย่างที่ 8 (4C)16 = (?)10
-- แยก (4C) 16 ออกเป็น 2 กลุ่มๆละ 4 หลัก ตามหลักการข้อ (c) ดังนี้


ทำให้ได้จำนวนเลขในรูปของเลขฐานสองเท่ากับ (1001100)2
-- เปลี่ยนเลขฐานสองที่ได้ เป็นเลขฐานสิบดังนี้ (1001100)2 = (?)10


(1001100) 2 = (64+8+4) 10 = (76) 10
\ (4C)16 = (76) 10




การแปลงเลขเศษส่วนในระบบเลขฐานสิบเป็นฐานสอง

การแปลงจำนวนเต็มใช้หลักการหารด้วย 2 (หรือการหาผลบวกของค่าประจำหลักก็ได้) สำหรับการแปลงเศษส่วนใช้วิธีการคูณด้วย 2 (คูณในระบบฐานสิบ) เพื่อหาค่าที่เป็นจำนวนเต็มหรือตัวทด (ตรงกันข้ามกับการแปลงจำนวนเต็มซึ่งใช้การหารและหาเศษที่เหลือ) ค่าตัวทดที่เกิดขึ้นในการคูณแต่ละครั้งให้เก็บไว้เป็นผลลัพธ์ นำส่วนที่เป็นเศษส่วนมาทำการคูณด้วยสองต่อไป จนได้ตัวเลขครบตามจำนวนที่ต้องการ ผู้ศึกษาจงสังเกตด้วยว่าการแปลงเลขเศษส่วนไปสู่ระบบฐานสองบางจำนวนไม่อาจแทนได้อย่างถูกต้อง ปรากฎการณ์นี้เป็นที่มาแห่งความผิดพลาดและคลาดเคลื่อนในการคำนวณเลขในระบบเครื่องคอมพิวเตอร์


ตัวอย่างที่ 9 จงแปลงจำนวน 159.356 ให้เป็นจำนวนในระบบเลขฐานสองกำหนดผลลัพธ์ไม่เกิน 8 หลัก

-- จำนวนที่กำหนดให้มีสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นจำนวนเต็มได้แก่
159 แปลงเป็นจำนวนในระบบฐานสองได้ 159 = (10100001)2
-- เศษส่วนคือ .356 ทำการแปลงไปสู่ระบบเลขฐานสองด้วยการคูณด้วย
2 เก็บผลลัพธ์จากตัวแรกไปยังตัวสุดท้าย ดังนี้



ผลลัพธ์คือ ตัวทดที่ได้จากการคูณตามลำดับตั้งแต่ครั้งที่ 1 ไปจนถึงครั้งสุดท้าย (ตามลูกศร) โดยให้เขียนจุดแสดงเศษข้างหน้า
159.356 ป (10100001.01011) 2

ตัวอย่างนี้ แสดงเศษส่วนไว้เพียง 5 ตำแหน่ง ให้สังเกตว่าค่า ( .01011) 2 ไม่เรียกว่าเป็น
ค่าหลังจุดทศนิยม เพราะว่าจุดทศนิยมใช้สำหรับจำนวนในระบบเลขฐานสิบเท่านั้น เศษในระบบฐานสองข้างต้นนี้มีค่าไม่เท่ากับ .356 แต่เป็นเพียงค่าประมาณ(ที่น้อยกว่า)เท่านั้น

การแปลงจำนวนจากฐานหนึ่งไปยังอีกฐานหนึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของการเกิดค่าคลาดเคลื่อน (error)
ในการคำนวณต่างๆซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังมาก

ตรรกศาสตร์
ตรรกศาสตร์พื้นฐาน

1.คุณสมบัติของตรรกศาสตร์พื้นฐาน
1.1ประพจน์ (Propostion)
คือ ข้อความที่เป็นจริงหรือเป็นเท็จเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ตัวอย่างที่เป็นประพจน์
P : 15 + 5 = 20
Q : วันนี้อากาศหนาว
R : สัปดาห์หนึ่งมี 8 วัน
S : คนทุกคนเป็นอมตะ
ตัวอย่างที่ไม่เป็นประพจน์
ช่วยเปิดไฟให้หน่อย
ห้ามรบกวน
การแทนประพจน์จะใช้สัญลักษณ์ p, q, r … เพื่อแทนประพจน์ที่แตกต่างกัน ข้อความที่มีกริยาเพียงตัวเดียวและเป็นประพจน์ จะเรียกว่าประพจน์เบื้องต้น

1.2. การเชื่อมประพจน์
โดยปกติเมื่อกล่าวถึงข้อความหรือประโยคนั้นมักจะมีกริยามากกว่าหนึ่งตัว แสดงว่าได้นำ
ประโยคมาเชื่อมกันมากว่าหนึ่งประโยค ดังนั้นถ้านำประพจน์มาเชื่อมกันก็จะได้ประพจน์ใหม่ซึ่งสามารถบอกได้ว่าเป็นจริงหรือเป็นเท็จ ตัวเชื่อมประพจน์มีอยู่ 5 ตัว และตัวเชื่อมที่ใช้กันมากคือ
“และ” “หรือ” “ไม่” ที่เหลืออีกสองตัวคือ “ถ้า…แล้ว…” และ “…ก็ต่อเมื่อ…” เมื่อนำประพจน์เชื่อมด้วยตัวเชื่อม และ ,หรือ, ถ้า…แล้ว, …ก็ต่อเมื่อ
โดยที่ถ้า p และ q แทนประพจน์ จะเขียน



ถ้ากำหนดให้ T แทนค่าความจริงของประพจน์ที่เป็นจริง
F แทนค่าความจริงของประพจน์ที่เป็นเท็จ
และ p, q แทนประพจน์ใดๆ ที่ยังไม่ได้ระบุข้อความหรือแทนค่าข้อความลงไป
ประพจน์ p ู q จะเรียกว่าข้อความร่วม (conjugate statement) และจะสามารถเขียนตารางค่าความจริงของประพจน์ p ู q ได้ดังนี้


จากตารางจะพบว่า ค่าความจริงของประพจน์ p ู q จะเป็นจริงถ้าประพจน์ทั้งสองเป็นจริงนอกนั้นจะเป็นเท็จ


ประพจน์ p ฺ q เรียกว่าข้อความเลือก (disjunctive statement) เป็นข้อความที่เป็นจริงถ้า p หรือ q เป็นอย่างน้อยที่สุดหนึ่งประพจน์ แต่จะไม่เป็นจริงเมื่อทั้งสองประพจน์เป็นเท็จ ตารางค่าความจริงของ p ฺ q สามารถเขียนได้ดังนี้


ประพจน์ ~p เรียกว่านิเสธ (negation) p หมายถึงไม่เป็นจริงสำหรับ p จะเป็นจริงเมื่อ p เป็นเท็จและจะเป็นเท็จเมื่อ p เป็นจริง ตารางค่าความจริงของ ~p เป็นดังนี้


ประพจน์ p ฎ q เรียกว่าประโยคเงื่อนไขหรือข้อความแจงเหตุสู่ผล (conditional statement) ประพจน์ p เรียกว่าเหตุตัวเงื่อนและ q เป็นผลสรุป
เช่น p : นุ่นไปเที่ยวนอกบ้าน
q : คุณพ่อโทรศัพท์ตาม
ดังนั้น p ฎ q : ถ้านุ่นไปเที่ยวนอกบ้านแล้วคุณพ่อโทรศัพท์ตาม
จากการตรวจสอบเงื่อนไขนี้จะพบว่าประพจน์นี้จะเป็นเท็จกรณีเดียวคือ นุ่นไปเที่ยวนอกบ้านแต่คุณพ่อไม่โทรศัพท์ตาม ดังนั้นจะสามารถแสดงตารางค่าความจริงของประพจน์ p ฎ q ได้ดังนี้


ประพจน์ p ซq เรียกว่าประโยคเงื่อนไขสองทาง (biconditional statement) คือ ประพจน์ที่มีความหมายเหมือนกับ (p ฎ q) ู (q ฎ p) เนื่องจาก (p ฎ q) และ (q ฎ p) เชื่อมด้วยคำว่า “และ” ดังนั้น p ซq จะมีค่าความจริงเป็นจริงต่อเมื่อประพจน์ p และประพจน์ q มีค่าความจริงเหมือนกัน ดังตารางต่อไปนี้



จากตารางค่าความจริงของประพจน์ที่มีตัวเชื่อมทั้ง 5จะพบว่า
1. ~ p มีค่าความจริงตรงกันข้ามกับค่าความเป็นจริงของ p
2. p ู q เป็น T กรณีเดียวคือกรณีที่ทั้ง p และ q เป็น T
3. p ฺ q เป็น F กรณีเดียวคือกรณีที่ทั้ง p และ q เป็น F
4. p ฎ q เป็น F กรณีเดียวคือกรณีที่ทั้ง p เป็น T และ q เป็น F
5. p ซ q เป็น T เมื่อ p และ q มีค่าความจริงเหมือนกัน


1.3. สัจนิรันดร์ (Tautology)

หมายถึงประพจน์ผสมที่มีค่าความจริงเป็นจริงทุกกรณี ไม่ว่าจะประกอบขึ้นจากประพจน์ย่อยที่มีค่าความจริงเป็นอย่างไร อาทิเช่น


การทดสอบว่าประพจน์ใดเป็นสัจนิรันดร์หรือไม่ ทำได้ 2 วิธีคือ
1. ใช้ตารางค่าความจริง เพื่อดูว่ามีค่าความจริงเป็นจริงทุกกรณีจริงหรือไม่
2. ใช้การทำ Contradiction คือการบังคับให้ประพจน์นั้นเป็นเท็จ ถ้าสามารถทำให้ประพจน์นั้นเป็นเท็จได้สำเร็จ แสดงว่าประพจน์นั้นไม่เป็นสัจนิรันดร์ แต่ถ้าไม่สามารถบังคับให้ประพจน์นั้นเป็นเท็จได้ ประพจน์นั้นจะเป็นสัจนิรันดร์ทันที

1.4. กฎของการแทนที่ กฎของการแทนที่เป็นกฎที่ใช้แทนที่กันได้เนื่องจากเป็นข้อความที่สมมูลกัน มีดังต่อไปนี้


ทฤษฎีพื้นฐานของพีชคณิตบูลีน

บทบาททางเศรษฐกิจ

การลงทุนในประเทศไทย

เหตุผลที่เป็นแรงผลักดันให้กลุ่มนักลงทุนรายใหญ่ของประเทศฝรั่งเศสยังคงลงทุนอย่างต่อเนื่องในประเทศไทยมีอยู่ 2 ประการคือ
 - ทรัพย์สินที่มีมูลค่าลดลงเนื่องจากการปรับค่าเงินบาทอันเป็นผลจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2540
 - ศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะปานกลางของประเทศไทยมีอยู่สูง
จุดประสงค์ของการลงทุนดังกล่าวมี 2 ประการคือ
1) เพื่อขยายการลงทุนภายในประเทศ (ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคและธุรกิจด้านพลังงาน)
2) เพื่อใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ในการผลิตเพื่อการส่งออก (ธุรกิจการส่งออก)
กลุ่มนักลงทุนรายใหญ่จากประเทศฝรั่งเศสซึ่งมีรากฐานมั่นคงประมาณ 60 กลุ่ม (อันได้แก่ Bouygues, Airbus, Accor, l’Oréal ฯลฯ) อีกทั้งธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทุกประเภทกว่า 300 รายซึ่งส่วนใหญ่ร่วมลงทุนกับหุ้นส่วนชาวไทย ชี้ให้เห็นบทบาททางการค้าของประเทศฝรั่งเศสในประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม บริษัทฝรั่งเศสมีความพยายามมากขึ้นเรื่อยๆที่จะเป็นผู้ถือหุ้นแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งไม่ขัดต่อข้ออนุญาตของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย (BOI) และกฏหมายด้านการลงทุน ยกเว้นเฉพาะธุรกิจสำคัญบางประเภทซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ยังให้ความคุ้มครอง
จากข้อมูลของ UNCTAD การลงทุนจากภายนอกประเทศของประเทศไทยถึงปี 2546 มีมูลค่าทั้งสิ้น 30.2 พันล้านดอลลลาร์สหรัฐ ในจำนวนนี้ 1.1 พันล้าน (หรือร้อยละ 3.6) เป็นการลงทุนจากประเทศฝรั่งเศส ในปี 2543 มูลค่าการลงทุนจากประเทศดังกล่าวมีเพียง 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่การลงทุนดังกล่าวมีมูลค่าถึง 277 และ 241 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2541 และ 2542
ถึงแม้ว่ามูลค่าการลงทุนจากประเทศฝรั่งเศสจะมีจำนวนสูงขึ้นในปี 2544 (102 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วงปี 2545 มูลค่าการลงทุนดังกล่าวกลับติดลบ (-11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2513 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการบันทึกข้อมูลเช่นนี้ นักลงทุนชาวต่างประเทศ(ยกเว้นชาวสิงคโปร์)ได้ลดจำนวนการลงทุนในประเทศไทยลงในช่วงปีดังกล่าว บางประเทศถึงกับลดจำนวนการลงทุนอย่างมาก (มูลค่าการลงทุนจากประเทศต่างๆ ในสหภาพยุโรปรวมกันแล้วติดลบถึง 440 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ปี 2546 นับเป็นปีแห่งการกลับมาของนักลงทุนจากต่างประเทศซึ่งตระหนักถึงการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศไทยอีกครั้ง มูลค่าการลงทุนจากประเทศฝรั่งเศสมีมูลค่าเพิ่ม 33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ในขณะที่การลงทุนจากประเทศสหภาพยุโรปมีจำนวนเพิ่มขึ้น 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านอุตสาหกรรม การส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคและการโรงแรมฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ลงทุนในประเทศไทยมากเป็นอันดับที่ 7 รองจากญี่ปุ่น (ร้อยละ 29) สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 18) สิงคโปร์ (ร้อยละ 14) ฮ่องกง (ร้อยละ 12) สหราชอาณาจักร (ร้อยละ 5) และไต้หวัน (ร้อยละ 4) ตั้งแต่ปี 2544 ฝรั่งเศสเป็นประเทศในทวีปยุโรปที่ลงทุนในประเทศไทยมากเป็นอันดับ 2 อันดับ 1, 3 และ 4 ได้แก่ อังกฤษ เยอรมนีและเนเธอร์แลนด์ อย่างไรก็ตามสถิติเหล่านี้อาจไม่สะท้อนให้เห็นความเป็นจริงอย่างสมบูรณ์นัก เนื่องจากวิธีลงทุนซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน

ประวัติโรงเรียนฐานเทคโนโลยี

ความเป็นมาของโรงเรียนฐานเทคโนโลยี
  โรงเรียนฐานเทคโนโลยี เกิดขึ้นจากความตั้งใจของนักธุรกิจ-อุตสาหกรรมและนักการศึกษาด้านอาชีวศึกษา ที่ปรารถนาที่จะเห็นนักเรียน-นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ มีความรู้จริงและลงมือปฏิบัติงานได้จริง ดังนั้นจากแนวความคิดดังกล่าวที่สอดคล้องกับบุคคลหลายฝ่ายจึงได้ร่วมมือ กันจัดตั้ง โรงเรียน ฐานเทคโนโลยีขึ้น
  โรงเรียนฐานเทคโนโลยีเปิดทำการเรียนการสอนเมื่อปีการศึกษา 2540  ตามใบอนุญาตจัดตั้งเลขที่ สค 5/2540    เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2538 (ปวช. 2538) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2540 (ปวส. 2540) กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ประเภทวิชาช่าง อุตสาหกรรมและประเภทวิชาบริหารธุรกิจ    สาขาวิชาช่างยนต์ การบัญชี การขาย/การตลาด การเลขานุการ และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ บนพื้นที่ 17 ไร่ 23 ตารางวา เปิดสอน 2 รอบ คือ รอบเช้าและรอบบ่าย  เรียนสัปดาห์ละ 6 วัน วันหยุดประจำสัปดาห์วันอาทิตย์ ได้รับอนุญาต ห้องเรียนรอบละ  14 ห้องเรียนและความจุนักเรียนนักศึกษา รอบละ 495 คน ความจุนักเรียนทั้งโรงเรียน 990 คน  อาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น โดยได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีและอนุญาตให้ใช้ชื่ออาคารเรียนว่า “อาคารเฉลิมพระเกียรติ” ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการพระบรมมหาราชวัง ที่ รล 0003/18005 จำนวน 1 หลัง 14 ห้องเ รียน ห้องประกอบ 8 ห้อง และห้องว่าง 2 ห้อง อาคารประกอบคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น 1 หลัง และโรงฝึกงานชั้นเดียว  1 หลัง ได้รับอนุญาตให้ใช้ตราโรงเรียน ตามใบอนุญาตเลขที่ สค.58/2540 มี นางมาลี ฐานปัญญา  เป็นผู้รับใบอนุญาต  ตามใบอนุญาตเลขที่ สค 5/2540  ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2540  นายภักดี ฐานปัญญา  เป็นผู้จัดการ  ตามใบอนุญาตเลขที่  สค 5/2540  ตั้งแต่วันที่  1  พฤษภาคม  พ.ศ.2540  และนายภักดี ฐานปัญญา เป็นครูใหญ่ ตามใบอนุญาตเลขที่  สค 6/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2540

การทำโครงงาน

รูปแบบการทำโครงงาน
 
ตัวอย่างรูปแบบการเขียนโครงงาน ( หน้าปก )
โครงงานเรื่อง...................................................
คณะผู้จัดทำ
1..................................รหัสประจำตัวนักศึกษา......................................
2..................................รหัสประจำตัวนักศึกษา......................................
3..................................รหัสประจำตัวนักศึกษา......................................
4..................................รหัสประจำตัวนักศึกษา......................................
5..................................รหัสประจำตัวนักศึกษา......................................
 
อาจารย์ที่ปรึกษา .............................................
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิชา...............................
ระดับ...............................
ศูนย์การเรียนชุมชน.........................................
ศูนย์บริการการศึกษานอกและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตบางแค
ภาคเรียนที่............................ปีการศึกษา...............................
 
 
 
 
 เนื้อหา (รูปเล่ม)
 
ชื่อโครงงาน.......................................
หลักการและเหตุผล
......................................................................................................
......................................................................................................
.....................................................................................................
.....................................................................................................
......................................................................................................
วัตถุประสงค์
......................................................................................................
.....................................................................................................
.....................................................................................................
.....................................................................................................
......................................................................................................
เป้าหมายของโครงงาน
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
.......................................................................................................
........................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
ขั้นตอนการดำเนินโครงงาน
.......................................................................................................
......................................................................................................
......................................................................................................
......................................................................................................
วิธีทำ
.......................................................................................................
......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
ปัญหาในการดำเนินงาน
........................................................................................................
........................................................................................................
การแก้ปัญหา
........................................................................................................
........................................................................................................
สถานที่ดำเนินโครงงาน
.....................................................................................................
....................................................................................................
....................................................................................................
ระยะเวลาการดำเนินโครงงาน
ครั้งที่ 1....................................................................................................
................................................................................................................
...............................................................................................................
ครั้งที่ 2 ..................................................................................................
................................................................................................................
...............................................................................................................
ครั้งที่ 3...................................................................................................
...............................................................................................................
...............................................................................................................
ครั้งที่ 4...................................................................................................
................................................................................................................
................................................................................................................
ครั้งที่ 5....................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงงาน
.................................................................................................................
.................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
...................................................................................................................
..................................................................................................................
.....................................................................................................................
.....................................................................................................................
 
                             ภาพประกอบขั้นตอนการทำโครงงาน
                              (ใช้ภาพขนาดจัมโบ้ 5-6 ภาพ )
 
ผู้รับผิดชอบโครงงาน
1.ชื่อ............................................................รหัสนักศึกษา....................................
2.ชื่อ............................................................รหัสนักศึกษา...................................
3.ชื่อ............................................................รหัสนักศึกษา...................................
4.ชื่อ............................................................รหัสนักศึกษา...................................
5.ชื่อ............................................................รหัสนักศึกษา...................................
 
   ที่ปรึกษาโครงงานอาจารย์.................................................