วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

นาฏศิลป์ภาคต่าง ๆ

ภาคกลาง




  รำวง


วิวัฒนาการมาจากรำโทน  ซึ่งเป็นการเล่นพื้นเมืองของไทยที่นิยมเล่นกันในฤดูเทศกาล  เฉพาะท้องถิ่นในบางจังหวัด   การเล่นรำโทนจะมีผู้รำทั้งชายและหญิงรำกันเป็นคู่ๆ  รอบๆ ครกตำข้าวที่วางคว่ำไว้หรือไม่ก็รำเป็นวงกลม  นอกจากจะมีการร้องเพลงประกอบการรำแล้ว    ยังมีเครื่องดนตรีที่ตีประกอบจังหวะหรือโทน ด้วยเหตุที่การรำชนิดนี้มีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะจึงเรียกกันว่ารำโทน  ในปี  ..๒๔๘๓    มีผู้นำการเล่นรำโทนในท้องถิ่นอื่นๆ    และเล่นกันได้ทุกเวลาไม่เฉพาะในฤดูกาล   จึงมีการเล่นรำโทนกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดต่างๆ 

            ในสมัยนั้น  จอมพล  . พิบูลสงคราม  เป็นนายกรัฐมนตรี  พิจารณาเห็นว่าคนไทยนิยมเล่น       รำโทนกันอย่างแพร่หลาย  ถ้าปรับปรุงการเล่นรำโทนให้เป็นระเบียบทั้งเพลงร้อง   ลีลาท่ารำ    และการแต่งกาย  จะทำให้รำโทนเป็นการเล่นที่น่านิยมยิ่งขึ้น  ดังนั้นรัฐบาลในสมัยจอมพล .พิบูลสงคราม  จึงได้มอบหมายให้กรมศิลปากรปรับปรุงการเล่นรำโทนขึ้นใหม่ ในปี ..๒๔๘๗  กรมศิลปากรได้แต่งบทร้องเพิ่มขึ้น  เพลง คือ  เพลงงามแสงเดือน  เพลงชาวไทย   เพลงรำซิมารำ  และเพลงคืนเดือนหงาย  ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด  พิบูลสงคราม    ภริยาท่านนายกรัฐมนตรี จอมพล .พิบูลสงคราม  ได้แต่งบทร้องให้อีก๖ เพลง คือ เพลงบูชานักรบ  เพลงหญิงไทยใจงาม  เพลงดอกไม้ของชาติ  เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า  และเพลงยอดชายใจหาญ   เพื่อให้เหมาะสมในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทางราชการจึงได้เปลี่ยนจากการเรียกรำโทนมาเป็นรำวง  เพราะผู้เล่นหญิงชายรำร่วมกันและการเล่นก็รำเป็นคู่ๆ  เคลื่อนย้ายเวียนไปเป็นวงกลม  เพลงที่แต่งทำนองขึ้นใหม่   นอกจากจะใช้โทนตีประกอบการเล่นตามเดิมแล้ว   ยังมีวงปี่พาทย์บรรเลงประกอบ และบางเพลงก็ใช้วงดนตรีสากลบรรเลงประกอบด้วย  นับว่าเพลงรำวงที่แต่งขึ้นใหม่มีความสมบูรณ์ทั้งเนื้อร้องและดนตรีที่บรรเลงทำนองประกอบการร้อง

            เพลงร้องที่แต่งขึ้นใหม่ในสมัยนั้น  ได้มีการกำหนดท่ารำของแต่ละเพลงไว้โดยเฉพาะ  เช่น  เพลงงามแสงเดือน ใช้ท่าสอดสร้อยมาลาเป็นท่ารำ  เพลงชาวไทยใช้ท่าชักแป้งผัดหน้า  เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญใช้ท่าแขกเต้าเข้ารัง และท่าผาลาเพียงไหล่ เป็นต้น  เพลงรำวงที่กำหนดท่ารำโดยใช้ท่ารำแม่บทดังกล่าวนี้เรียกว่า รำวงมาตรฐาน   นิยมในงานรื่นเริงแทนการเต้นรำ   และยังจัดเป็นชุดนาฏศิลป์ไทยที่นำไปแสดงเพื่อความบันเทิงได้อีกด้วย

            ส่วนเพลงรำโทนที่เคยใช้ร้องมาแต่เดิม  เช่น  เพลงหล่อจริงนะดารา  เพลงใกล้เข้าไปอีกนิด   เพลงยวนยาเหล  เพลงตามองตา  ฯลฯ  เมื่อเปลี่ยนมาใช้ดนตรีบรรเลงประกอบในเวลาร้อง  ลีลา  ท่ารำก็ยังคงใช้ท่ารำแบบเดิม  เพราะมิได้กำหนดท่ารำมาตรฐานแบบท่ารำแม่บทไว้ในเพลงเหล่านี้

            เมื่อปรับปรุงเพลงร้องทำนองดนตรีและลีลาท่ารำ  รวมทั้งเปลี่ยนชื่อจากรำโทนมาเป็นรำวงแล้ว  ก็กำหนดการแต่งกายของผู้เล่นรำวงให้เป็นระเบียบ  เช่น  ผู้ชายแต่งชุดสากล  ผู้หญิงแต่งชุดเสื้อกระโปรง    หรือชุดไทยพระราชนิยม  ผู้ชายนุ่งโจงกระเบน  สวมเสื้อคอกลม   มีผ้าคาดเอว   ผู้หญิงแต่งชุดไทย  เป็นต้น

            การเล่นรำวง  นอกจากจะเป็นที่นิยมของชาวไทยแล้ว  ชาวต่างชาติก็ยังนิยมเล่นรำวงด้วยเพลง     รำวงที่ต่างชาติรู้จักและมักจะร้องกันได้  คือ  เพลงลอยกระทง  การเล่นรำวงจะเล่นได้ทุกโอกาสที่มีงานรื่นเริงหรือมีการแสดงนาฏศิลป์ไทย ในการนำนาฏศิลป์ไทยไปแสดงที่ต่างประเทศในบางครั้ง  เมื่อจบการแสดงแล้ว    จะมีการเชิญชวนแขกผู้มีเกียรติ  ขึ้นมาร่วมรำวงกับผู้แสดงชายและหญิงของคณะนาฏศิลป์ไทย   นับเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีระหว่างคณะนาฏศิลป์ไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามาชมการแสดง  อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ศิลปะการเล่นรำวงให้แพร่หลายไปในนานาประเทศอีกด้วย




ภาคเหนือ



ฟ้อนเทียน


         ฟ้อนเทียน   เป็นการฟ้อนที่มีลักษณะศิลปะที่อ่อนช้อยงดงาม   ลักษณะการแสดงไม่ต่างจากการแสดงฟ้อนเล็บ  ถ้าเป็นการแสดงฟ้อนเทียน  นิยมแสดงในเวลากลางคืนเพื่อเน้นความสวยงามของแสงเทียนระยิบระยับสว่างไสว จุดเด่นของการแสดงชนิดนี้ จึงอยู่ที่แสงเทียนที่ผู้แสดงถือในมือข้างละ ๑ เล่ม   เข้าใจว่าการฟ้อนเทียนนี้แต่เดิมคงจะใช้เป็นการแสดงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์     เพื่อเป็นการสักการะเทพเจ้าที่เคารพนับถือในงานพระราชพิธีหลวง ตามแบบฉบับล้านนาของทางภาคเหนือของไทย   ผู้ฟ้อนมักใช้เจ้านายเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในทั้งสิ้น ในสมัยปัจจุบันการแสดงชุดนี้จึงไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนักจะสังเกตเห็นว่าความสวยงามของการฟ้อนอยู่ที่การบิดข้อมือที่ถือเทียนอยู่  แสงวับๆ แวมๆ จากแสงเทียนจึงเคลื่อนไหวไปกับความอ่อนช้อยลีลา และลักษณะของเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบนับเป็นศิลปะที่น่าดูอย่างยิ่งแบบหนึ่ง           

         ผู้แสดง หญิงล้วน ใช้รำเป็นคู่  จะเป็น คู่  คู่  คู่  คู่  คู่  หรือมากกว่านี้ก็ได้  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโอกาสและสถานที่          


            เครื่องดนตรี    ได้แก่  กลองแอว  ปี่  แน  ฉาบใหญ่  ฆ้องวงใหญ่  และตะหลดปด



         การแต่งกาย          ใช้ผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วน นิยมแสดงหมู่คราวละหลายคน โดยจำนวนคนเป็นเลขคู่ เช่น ๘ หรือ ๑๐ คน    แล้วแต่ความยิ่งใหญ่ของงานนั้น   และความจำกัดของสถานที่  โดยผู้แสดงแต่งกายแบบฟ้อนเล็บ คือ การสวมเสื้อแขนกระบอก นุ่งซิ่นมีเชิงกรอมเท้า มุ่นผมมวย มีอุบะห้อยข้างศีรษะ ในมือเป็นสัญลักษณ์  คือ  ถือเทียน  เล่ม   การแต่งกายของฟ้อนเทียนนี้  ปัจจุบันแต่งได้อีกหลายแบบ  คืออาจสวมเสื้อในรัดอก ใส่เสื้อลูกไม้ทับแต่อย่างอื่นคงเดิม  และอีกแบบคือสวมเสื้อรัดอก  แต่มีผ้าสไบเป็นผ้าทอลายพาดไหล่อย่างสวยงาม  แต่ยังคงนุ่งซิ่นกรอมเท้าและมุ่นผมมวย  มีอุบะห้อยศีรษะ


         โอกาสที่แสดง   ในงานพระราชพิธี   หรือวันสำคัญทางศาสนา  ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองชาวต่างชาติ   และในงานประเพณีสำคัญตามแบบฉบับของชาวล้านนา    

ภาคใต้






โนรา   เป็นนาฏศิลป์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด  ในบรรดาศิลปะการแสดงของภาคใต้            มีความยั่งยืนมานับเป็นเวลาหลายร้อยปี   การแสดงโนราเน้นท่ารำเป็นสำคัญ    ต่อมาได้นำเรื่องราวจากวรรณคดีหรือนิทานท้องถิ่นมาใช้ในการแสดงเรื่อง พระสุธนมโนห์รา เป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อการแสดงมากที่สุดจนเป็นเหตุให้เรียกการแสดงนี้ว่า   มโนห์รา

            ตามตำนานของชาวใต้เกี่ยวกับกำเนิดของโนรา  มีความเป็นมาหลายตำนาน  เช่น ตำนานโนรา   จังหวัดตรัง   จังหวัดนครศรีธรรมราช   จังหวัดสงขลา   และจังหวัดพัทลุง     มีความแตกต่างกันทั้งชื่อที่ปรากฏในเรื่องและเนื้อเรื่องบางตอน ทั้งนี้อาจสืบเนื่องมาจาก ความคิด ความเชื่อ ตลอดจนวิธีสืบทอดที่ต่างกัน   จึงทำให้รายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละตำนานแตกต่างกัน

  จากการศึกษาท่ารำอย่างละเอียดจะเห็นว่าท่ารำที่สืบทอดกันมานั้น  ได้มาจากความประทับใจที่มีต่อธรรมชาติ    เช่น   ท่าลีลาของสัตว์บางชนิดมี   ท่ามัจฉา   ท่ากวางเดินดง    ท่านกแขกเต้าเข้ารัง   ท่าหงส์บิน  ท่ายูงฟ้อนหาง ฯลฯ  ท่าเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  เช่น ท่าพระจันทร์ทรงกลด  ท่ากระต่ายชมจันทร์  ต่อมาเมื่อได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ามาก็มี  ท่าพระลักษมณ์แผลงศร  พระรามน้าวศิลป์  และท่าพระพุทธเจ้าห้ามมาร   ท่ารำและศิลปะการรำต่างๆ  ของโนรา    ท่านผู้รู้หลายท่านเชื่อว่าเป็นต้นแบบของละครชาตรีและการรำแม่บทของรำไทยด้วย

   ท่ารำโนรามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผู้ที่ฝึกหัดนาฏศิลป์ของภาคกลางแล้วจะรำท่าของโนราไม่สวย   เพราะการทรงตัว  การทอดแขน  ตั้งวงหรือลีลาต่างๆ ไม่เหมือนกัน  ผู้ที่จะรำโนราได้สวยงามจะต้องมีพื้นฐานการทรงตัว  ดังนี้

           ช่วงลำตัว     จะต้องแอ่นอกอยู่เสมอ     หลังจะต้องแอ่นและลำตัวยื่นไปข้างหน้า     ไม่ว่าจะรำท่าไหน  หลังจะต้องมีพื้นฐานการวางตัวเช่นนี้เสมอ

           ช่วงวงหน้า   วงหน้า  หมายถึง ส่วนลำคอกระทั่งศีรษะ จะต้องเชิดหน้าหรือแหงนขึ้นเล็กน้อยในขณะรำ

            ช่วงหลัง      ส่วนก้นจะต้องงอนเล็กน้อย

           การย่อตัวเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง  การรำโนรานั้น  ลำตัวหรือทุกส่วนจะต้องย่อลงเล็กน้อย  นอกจาก   ย่อลำตัวแล้วเข่าจะต้องย่อลงด้วย

  วิธีการแสดง  การแสดงโนรา   เริ่มต้นจากการลงโรง   (โหมโรง)กาดโรงหรือกาดครู  (เชิญครู)   พิธีกาดครู  ในโนราถือว่าครูเป็นเรื่องสำคัญมาก  ฉะนั้นก่อนที่จะรำจะต้องไหว้ครู  เชิญครูมาคุ้มกันรักษา  หลายตอนมีการรำพัน  สรรเสริญครู  สรรเสริญคุณมารดา  เป็นต้น

          จับบทออกพราน

          การจับบทออกพราน  ในการรำโนราลงครู  ซึ่งโนราใหญ่และพรานจะร่วมกันแสดงทั้ง  ๑๒  เรื่อง  เรียกว่าจับบทสิบสอง  ตัวแสดงมีตัวละครเพียง  ตัวคือ ตัวพระ ได้แก่ นายโรง หรือโนราใหญ่  ตัวนาง  และตัวตลก คือ  ตัวพราน

          การรำทำบท สมัยก่อนการเดินทางของคณะโนรา ทำได้  วิธี  คือ โดยการเดินทางเท้าหรือไปโดยเรือ  ระหว่างทางเมื่อพบความงามของธรรมชาติ   ก็จะทำบทชมความงามที่พบนั้น



ภาคอีสาน



ฟ้อนภูไทหรือผู้ไท 

พระธาตุเชิงชุม เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของจังหวัดสกลนคร ซึ่งในสมัยโบราณนั้นต้องมีคนคอยเฝ้าดูแลรักษาทำความสะอาดอยู่ตลอดทั้งปี       ซึ่งพวกที่ดูแลทำนุบำรุงพระธาตุเชิงชุมนี้จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีรัชฎาชูปการซึ่งมีหลายชนเผ่าด้วยกัน ซึ่งในกลุ่มผู้ดูแลนั้นมีชาวไทอยู่ร่วมด้วย ในตอนนั้นมักจะมีงานบุญทอดผ้าป่า     และฉลององค์พระธาตุเชิงชุมชาวบ้านจะนำข้าวเม่า   ปลาย่างมาติดกัณฑ์เทศน์   ชาวผู้ไทซึ่งเป็นกลุ่มที่อาสาเป็นผู้ปฏิบัติรักษาองค์พระธาตุโดยเฉพาะผู้ชายจะแต่งตัวนุ่งกางเกงขาก๊วย และนุ่งโสร่งทับ  สวมเสื้อดำ  จะฟ้อนด้วยลีลาอันอ่อนช้อยสวยงาม   โดยร้องและฟ้อนกันเป็นหมู่ๆ   แล้วจึงถวายผ้าป่า    ต่อมาได้มีการดัดแปลงท่าฟ้อนให้สวยงามยิ่งขึ้น     เปลี่ยนจากผู้แสดงชายมาเป็นหญิงล้วน

การแต่งกาย  ผู้แสดงหญิงจะนุ่งผ้าซิ่นสีดำขลิบแดง นุ่งยาวกรอมเท้า สวมเสื้อสีดำขลิบแดง หรือแดงขลิบดำก็ได้   แต่ขลิบคอแขนและชายเสื้อ   สวมเล็บมือแปดเล็บติดพู่สีแดง ผมเกล้ามวยผูกผมด้วยผ้าสีแดง

วงดนตรีประกอบ  ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน  ลายผู้ไทของจังหวัดสกลนคร  ซึ่งมีลีลาและจังหวะเร็วกว่าลายผู้ไทของจังหวัดอื่นๆ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น