วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

บทบาททางเศรษฐกิจ

การลงทุนในประเทศไทย

เหตุผลที่เป็นแรงผลักดันให้กลุ่มนักลงทุนรายใหญ่ของประเทศฝรั่งเศสยังคงลงทุนอย่างต่อเนื่องในประเทศไทยมีอยู่ 2 ประการคือ
 - ทรัพย์สินที่มีมูลค่าลดลงเนื่องจากการปรับค่าเงินบาทอันเป็นผลจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2540
 - ศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะปานกลางของประเทศไทยมีอยู่สูง
จุดประสงค์ของการลงทุนดังกล่าวมี 2 ประการคือ
1) เพื่อขยายการลงทุนภายในประเทศ (ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคและธุรกิจด้านพลังงาน)
2) เพื่อใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ในการผลิตเพื่อการส่งออก (ธุรกิจการส่งออก)
กลุ่มนักลงทุนรายใหญ่จากประเทศฝรั่งเศสซึ่งมีรากฐานมั่นคงประมาณ 60 กลุ่ม (อันได้แก่ Bouygues, Airbus, Accor, l’Oréal ฯลฯ) อีกทั้งธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทุกประเภทกว่า 300 รายซึ่งส่วนใหญ่ร่วมลงทุนกับหุ้นส่วนชาวไทย ชี้ให้เห็นบทบาททางการค้าของประเทศฝรั่งเศสในประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม บริษัทฝรั่งเศสมีความพยายามมากขึ้นเรื่อยๆที่จะเป็นผู้ถือหุ้นแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งไม่ขัดต่อข้ออนุญาตของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย (BOI) และกฏหมายด้านการลงทุน ยกเว้นเฉพาะธุรกิจสำคัญบางประเภทซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ยังให้ความคุ้มครอง
จากข้อมูลของ UNCTAD การลงทุนจากภายนอกประเทศของประเทศไทยถึงปี 2546 มีมูลค่าทั้งสิ้น 30.2 พันล้านดอลลลาร์สหรัฐ ในจำนวนนี้ 1.1 พันล้าน (หรือร้อยละ 3.6) เป็นการลงทุนจากประเทศฝรั่งเศส ในปี 2543 มูลค่าการลงทุนจากประเทศดังกล่าวมีเพียง 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่การลงทุนดังกล่าวมีมูลค่าถึง 277 และ 241 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2541 และ 2542
ถึงแม้ว่ามูลค่าการลงทุนจากประเทศฝรั่งเศสจะมีจำนวนสูงขึ้นในปี 2544 (102 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วงปี 2545 มูลค่าการลงทุนดังกล่าวกลับติดลบ (-11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2513 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการบันทึกข้อมูลเช่นนี้ นักลงทุนชาวต่างประเทศ(ยกเว้นชาวสิงคโปร์)ได้ลดจำนวนการลงทุนในประเทศไทยลงในช่วงปีดังกล่าว บางประเทศถึงกับลดจำนวนการลงทุนอย่างมาก (มูลค่าการลงทุนจากประเทศต่างๆ ในสหภาพยุโรปรวมกันแล้วติดลบถึง 440 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ปี 2546 นับเป็นปีแห่งการกลับมาของนักลงทุนจากต่างประเทศซึ่งตระหนักถึงการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศไทยอีกครั้ง มูลค่าการลงทุนจากประเทศฝรั่งเศสมีมูลค่าเพิ่ม 33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ในขณะที่การลงทุนจากประเทศสหภาพยุโรปมีจำนวนเพิ่มขึ้น 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านอุตสาหกรรม การส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคและการโรงแรมฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ลงทุนในประเทศไทยมากเป็นอันดับที่ 7 รองจากญี่ปุ่น (ร้อยละ 29) สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 18) สิงคโปร์ (ร้อยละ 14) ฮ่องกง (ร้อยละ 12) สหราชอาณาจักร (ร้อยละ 5) และไต้หวัน (ร้อยละ 4) ตั้งแต่ปี 2544 ฝรั่งเศสเป็นประเทศในทวีปยุโรปที่ลงทุนในประเทศไทยมากเป็นอันดับ 2 อันดับ 1, 3 และ 4 ได้แก่ อังกฤษ เยอรมนีและเนเธอร์แลนด์ อย่างไรก็ตามสถิติเหล่านี้อาจไม่สะท้อนให้เห็นความเป็นจริงอย่างสมบูรณ์นัก เนื่องจากวิธีลงทุนซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น